Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 4 ใบ ! > "Click"
--------------------------
ยังคงเป็น Backpacker ซำเหมา, กับอีกแปดล้านสี่แสนไมล์ใน Credit Card
2018 เป็นปีที่ผมเริ่ม “ลอง” บินชั้นธุรกิจด้วยการแลกไมล์ร่วมกับ Credit Cards, [ถึงปลายทางก็นอน Hostel คืนละสามร้อยบาทเหมือนเดิม], ปีที่แล้วเลยได้บิน Business Class ของ Japan Airlines ไปญี่ปุ่นและ Cathay Pacific ไปเกาหลี
จากคนที่เคย “Anti Credit Card” มากๆ ว่าเป็น “บัตรก่อหนี้”
ตอนนี้แม้แต่มาม่า, ถ้า Supermarket ไหนไม่ให้จ่ายด้วย Credit Card ผมก็จะไม่ซื้อ (メ`ロ´)/!
พอเข้าปี 2019, เมื่อวานผมก็เลยนั่ง Update ข่าวสารดูว่า Credit CArd ใบไหนยังสะสมไมล์ได้ดีที่สุดนะ ?
บัตรสะสมไมล์ดีที่สุดในกลุ่ม “ยกเว้นค่าธรรมเนียมได้”
[Thanachart Black Diamond ในภาพถูกอายัดเพื่อเปลี่ยนเลขหน้าบัตรแล้ว]
ส่วนตัวผมถือสามใบนี้, ซึ่งก็เรียกว่าเป็น “บัตรสะสมไมล์ที่ดีที่สุดของปี 2018” เดิม
ได้แก่ TBank Black Diamond / American Express Rop และ UOB Privimiles
เท่าที่ Checked ดู, พบว่าทั้ง 3 บัตรก็ยังคงเป็น “บัตรสะสมไมล์ที่ดีสุดของ [ต้น] ปี 2019” และที่สำคัญคือทั้ง 3 บัตรนี้ยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ [เมื่อเทียบกับ SCB MyTravel และ CitiBank อีกหลายๆ ใบที่สะสมไมล์ดีพอๆ กันแต่ Waive ค่าธรรมเนียมไม่ได้]
และทั้งสามบัตรนี้ก็ “ยินดีต้อนรับ Freelance ซำเหมา (#´ー´)旦”
[ปัจจุบันผมเหลือแค่ Aeon & Citi ที่สมัครกี่ทีก็ไม่ผ่าน !]
3. American Express Royal Orchid Plus [Amex Rop]
ฐานเงินเดือน : 500000 บาทต่อปี [ข้อมูลทางการระบุเป็น Annual Income, American นี่มัน American จริงๆ]
ค่าธรรมเนียม : 4280 บาท, โทรไปขอยกเว้นได้ ψ`ー´)ノ
อัตราแลกไมล์ : 25 บาทต่อหนึ่งไมล์แต่ถ้าปีนั้นๆ ใช้จ่ายเกิน 100000 บาทจะกลายเป็น 20 บาทต่อหนึ่งไมล์และถ้าใช้เกินปีละ 1.5 ล้านบาทจะได้รับ Bonus เพิ่มอีก 35000 ไมล์ [เท่ากับ 13.6 บาทได้หนึ่งไมล์ซึ่งเป็น Rate ที่ดีที่สุดในทุกบัตร]
Special : แต่ Promotion ที่น่าสนใจสุดๆ ของ Amex Rop ก็คือลูกค้าใหม่มีสิทธิแลกตั๋วเครื่องบินฟรี, แค่สมัครบัตรแล้วใช้ 200000 บาทภายใน 90 วันก็จะได้รับไมล์การบินไทย [Rop] เพิ่มรวม 45000 ไมล์ [พอดีสำหรับไปกลับญี่ปุ่นเกาหลี]
ข้อเสีย : แต่ Amex เป็นบัตรที่ร้านค้าในไทยไม่ค่อยจะรับเท่าไรและระบบ Online ก็แย่มากๆ
2. Uob Privimiles [Visa Signature]
ฐานเงินเดือน : 50000 บาทขึ้นไป
ค่าธรรมเนียม : 4280 บาท, ยกเว้นอัตโนมัติเมื่อมีการใช้ผ่านบัตรเกินปีละ 300000 บาท ψ(`∇´)ψ
อัตราแลกไมล์ : 18 บาทต่อหนึ่งไมล์แต่ UOB มักจะมี Promotion เพิ่มไมล์พิเศษแทบทุกเดือนเช่น Jan 2019 รับ Bonus เพิ่ม 50% เมื่อใช้จ่าย 10001 – 30000 บาทและเพิ่มเป็น 70% เมื่อใช้จ่ายเกิน 30001 บาทขึ้นไป
Special : มีเบอร์ CallCentre แยกต่างหากให้ / ใช้ Royal Orichid Plus Lounge ฟรีปีละ 2 หนเมื่อบินกับ TG / นอกจากการบินไทยก็ยังแลกไมล์ของ Cathay Pacific [Asiamiles] และ Singapore Airlines [KrisFlyer] ได้ด้วย !
ข้อเสีย : มีคนบ่นประจำว่าระบบการคิด Bonus มั่วมากและคะแนน Uob Rewards ก็มีอายุแค่ 24 เดือน
1. Thanachart Black Diamond [Visa Signature & Mastercard World]
ฐานเงินเดือน : 300000 บาท, หรือมีเงินลงทุน [Aum] กับธนาคารธนชาตเกิน 5 ล้านบาทติดต่อกัน 180 วัน
ค่าธรรมเนียม : 7000 บาท, ยกเว้นอัตโนมัติเมื่อมีการใช้ผ่านบัตรเกินปีละ 400000 บาท
อัตราแลกไมล์ : ธนชาตให้ Bonus ในหมวดร้านอาหาร 2 เท่า / หมวดท่องเที่ยว 4 เท่า / หมวดต่างประเทศ 8 เท่า [คิดเป็น 4.1 บาทต่อหนึ่งไมล์] แล้วเอาคะแนน TReward มาแลกตั๋วเครื่องบินโดยตรงกับธนาคาร [ไม่ผ่านทาง Airlines]
Special : มี CallCentre แยก / ใช้ LoungeKey ฟรีปีละสองหน / ใช้ Blue Ribbon Lounge ฟรีอีกปีละสองครั้ง / Free Airport Limousines ปีละสองเที่ยวเช่นกันด้วย Mercedes E Klasse & BMW 5 Series / Fitness ฟรีสามโรงแรม
ข้อเสีย : แต่ระบบแลกไมล์มั่วมาก, งงทั้งพนักงานหน้าสาขาทั้ง CallCentre และไม่มีแลก Business Class
โดยรวมแล้ว, ถือว่า TBank Black Diamond สะสมไมล์ได้ไวสุดใน [ต้น] ปี 2019
แต่เวลาใช้จะแปลกๆ
พอติดต่อขอแลก, พนักงานก็จะงงๆ
ส่วนหนึ่งคงเพราะธนชาตยัง “ใหม่มาก” กับกลุ่มลูกค้าตลาดบน
และการแลกไมล์ของ TBank ก็เหมือนเอาคะแนนไปให้ธนาคาร, จากนั้นธนชาตก็วิ่งเอาเงินตัวเองไปซื้อตั๋วเครื่องบินมาให้เราอีกที [ต่างจาก Amex & UOB และบัตรอื่นๆ ที่ Convert คะแนนไปเป็นไมล์เก็บไว้ในระบบของสายการบินเองเลย]
ดังนั้น, อนาคตก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเกิดวันดีคืนดีทาง TBank อยากจะเลิกหรือเปลี่ยนกฏใหม่…
คะแนน TReward ที่สะสมไว้จะเป็นอย่างไร (ó﹏ò。)?
ส่วน Amex Rop, มีข้อจำกัดตรงที่มันสะสมไมล์ได้แค่กับการบินไทย
ซึ่งคิดค่าแลกไมล์แพง, ดังภาพถัดไปและที่เคยเขียนไว้ใน Blog เก่า
เพราะตั๋ว Business Class ไปกลับ Osaka / Nagoya / Fukuoka / Seoul / Busan ของ Cathay Pacific ใช้แค่ 50000 ไมล์, ในขณะที่การบินไทยคิด 75000 ไมล์ [ถ้าตั๋วขาเดียวคิด 25000 ไมล์สำหรับ Cathay Pacific แต่ TG คิด 52500 ไมล์…]
ส่วนตัวผม, แนะนำว่าสมัคร Amex Rop เพื่อเอา 45000 ไมล์การบินไทยแลกไปญี่ปุ่นชั้น Economy ฟรีก่อนหนึ่งรอบ
แล้วก็รูด UOB Privimiles ต่อเพื่อสะสมคะแนนไปแลก Cathay Pacific ที่ Rate แลกไมล์ถูกกว่า TG แทนจะดีที่สุด
แต่ถ้าใครมั่นใจว่าสามารถใช้ Amex ต่อปีเกิน 1.5 ล้านได้, จะถือใบเดียวแลกไมล์การบินไทยยาวเลยก็ Okay
เพราะผมเองก็มี Plan จะลองแลกการบินไทยชั้นหนึ่ง [TG First Class] ปีนี้ด้วย American Express เหมือนกัน