Special : "How to สร้างตัวตนออนไลน์ให้ชีวิตและธุรกิจด้วย Social Media !"
จากสถิติเวลาทาน Buffet, คนอ้วนมักเลือกนั่งใกล้อาหารมากกว่าคนผอม 16 ฟุต และคนอ้วนจะเดินตรงไปหยิบจานแล้วตะลุยตักทันที ในขณะที่คนผอมเดินสำรวจ Line อาหารให้ครบก่อนแล้วเลือกสิ่งที่ชอบ
สิ่งหนึ่งที่น่าตกใจ [หรืออาจกลายเป็นเรื่องธรรมดา ?] ก็คือ คนเราทุกวันนี้ไม่ได้ทานเพราะหิว
แต่เราหยิบอาหารเข้าปากด้วยเหตุผลต่างๆ, ซึ่งบางครั้งก็เป็นเรื่องของโฆษณา / ขนาดหรือ Packaging
ดังนั้นเราจึงไม่หยุดทานเมื่ออิ่ม
มีการทดลองใน Cornell USA โดย Brian Wansink, ด้วยการต่อท่อเข้ากับชามแล้วคอยเติม Soup เข้าไปเรื่อยๆ,
ปรากฏว่าผู้เข้ารับการทดลองที่ทาน Soup จากชามธรรมดา ทานไปแค่ 425 กรัมก็อิ่ม
แต่ผู้ที่ทานจากชามที่มีการแอบเติม Soup เข้าไปเรื่อยๆ, สุดท้ายทานไปเกือบ 1 Kg !
แปลง่ายๆ ว่า คนยุคนี้ มีนิสัย “อิ่มด้วยปัจจัยอื่นๆ” แทนที่จะอิ่มเพราะอิ่มจริงๆ
การมองไปในชามแล้วยังเห็น Soup เหลืออยู่, ทำให้เรายังคงตักอาหารเข้าปาก
[และอาจเพิ่งจะรู้สึกว่า “อิ่มเกินไป” ต่อด้วยอาการ “รู้สึกผิด” หลังทานหมด, ซึ่งผมเป็นบ่อยๆ :’)]
ปัจจุบันเราถูกหลอกด้วย “กับดับทางจิตวิทยา” มากมาย
แต่ในทางตรงกันข้าม, ถ้าเราพลิกกับดักเหล่านี้มาหลอกตัวเราเองในแง่ดี ก็จะทำให้เราสามารถลดน้ำหนักลงได้มากถึง 5 Kg อย่างง่ายดายโดยไม่รู้ตัว และนี่คือ 6 Techniques ของ Brian Wansink !
1. เพราะว่า You Eat What You See
ไม่ใช่แค่ “You are What You Eat”
Chocolate หรือลูกกวาดที่วางอยู่ใน Office, ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะทานมันเข้าไป
จาก Research ของ Brian Wansink พบว่า คนอ้วนมักจะนั่งใกล้อาหารมากกว่าคนผอมถึง 3 เท่า เวลาไปทาน Buffet, และก็นั่งมองแต่ละคนที่เดินไปตักอาหารซ้ำแล้วซ้ำอีก
ดังนั้น, จงวางสิ่งที่ไม่ชอบไว้บนโต๊ะทำงาน
ผักผลไม้ใกล้มือ ดีกว่าขนมซองๆ หรือ Junk Food
[แนะนำว่าเอาไปวางไว้บนโต๊ะของคนที่เราไม่ชอบหน้าใน Office ก็ไม่เลว :)]
2. เปลี่ยนสิ่งที่อยู่ “ใกล้มือ”
คนผอมมักจะเลือกนั่งติดกำแพง, ไกลจาก Line ตักอาหารใน Buffet
แต่คนอ้วนเลือกทำสิ่งที่ตรงกันข้าม, ยิ่งใกล้และยิ่งเห็นก็ยิ่งตัก
นอกจากนี้ การใช้ “จานที่เล็กลงนิดหน่อย” ก็เป็น “กับดักทางจิตใจ” ที่ดี ในการทำให้เรารู้สึกว่า “อิ่มแล้ว” หรือไม่ก็ขยับและปรับให้อาหารเข้าถึงได้ยากกว่าเดิมเล็กน้อยก็ช่วยได้เช่นกัน
มีการทดลองวาง Chocolate ใส่กล่องปิดฝาใน Office ของ Google, แทนที่จะวางทิ้งไว้ให้หยิบได้ง่ายๆ
ปรากฏว่าปริมาณการทาน Chocolate ในบริษัทลดลงถึง 3 ล้านอันใน 1 เดือน !
ทั้งที่จริงๆ แล้ว แค่เปิดกล่องมันก็ไม่ได้ยากอะไรเลย :)
3. คิดก่อนจะกิน
ฟังดูเหมือนวิธีปรกติในการลดน้ำหนัก แต่จริงๆ ไม่ใช่
Research พบว่าคนผอมมักจะเดินชมอาหารทั้งหมดใน Buffet ก่อน เพื่อตักสิ่งที่ชอบที่สุด
ส่วนคนอ้วนจะหยิบจานหนึ่งใบโดยยังไม่รู้จะตักอะไร แล้วก็ตักไปเรื่อยๆ ตาม Line ที่เดิน ดังนั้น, คนกลุ่มนี้จะไม่ได้ตักเฉพาะ “สิ่งที่ชอบที่สุด” แต่จะตัก “ทุกอย่างที่ไม่ได้เกลียด” แทน – -*
และจงระวังการซื้อของในเวลาหิว
เพราะเรามักจะเลือก “สิ่งที่ทานง่ายที่สุด” ซึ่งก็มักจะเป็นอาหารประเภทแป้งในถุงแกะง่าย
[แถมพอหิวก็มักจะตะลุยกินจนเกินอิ่ม, ดังที่จะเขียนในหัวข้อต่อไป…]
4. ทานให้ช้าลง
Research พบว่าคนอ้วนเคี้ยวแค่ 12 ครั้ง, ในขณะที่คนผอมเคี้ยว 15 ที
การเคี้ยวช้าๆ ทำให้ร่างกายมีเวลาที่จะรู้สึกว่าอิ่ม
ผู้หญิงที่ทานอาหารหมดในเวลา 9 นาที, ทานไป 646 KCal
แต่ถ้ายืดเวลาทานให้ช้าลงเป็น 29 นาที, ผู้หญิงคนเดิมทานแค่ 579 KCal ก็อิ่มแล้ว
เรื่อง “เคี้ยวช้า” นั้น หลายคนรู้อยู่แล้วครับ แต่ผมชอบที่ Research ฝรั่งมักจะทำการเก็บข้อมูลทำเป็นตารางสถิติชัดเจน, ทำให้เรารู้เป็นตัวเลขเลยว่าใน 1 มื้อจะลดหรือจะเพิ่มความอ้วนมากเท่าไร ?
ดังนั้น จงทานข้าว 1 มื้อให้นานขึ้น 20 นาที, เป็นโอกาสดีที่จะลิ้มรสอาหารด้วย :)
5. ความหลากหลายคืออันตรายเชิงจิตวิทยา !
การมีกับข้าว 3 อย่าง ทำให้คนทานอาหารมากขึ้นอีก 23%, เมื่อเทียบกับการมีกับข้าวแค่อย่างเดียว
กับดับอันนี้จะเห็นชัดเจนมากใน Buffet
บางครั้งเราไม่อยากทานแต่อยากลอง
ทางแก้ง่ายๆ ก็คือ อย่าสั่งกับข้าวเกิน 2 อย่าง [เพิ่มไข่ดาวด้วย :)]
ส่วนตัวผมขอเพิ่มอีกนิดว่า ปัญหาหนึ่งเวลาไปทานพวก Fast Food ก็คือ พนักงานมักจะถามว่า “เพิ่ม 10 บาท ได้มันฝรั่งทอดด้วยนะคะ”, ซึ่งตรงนี้ “ความคุ้มค่า [หรือว่าความงก]” ก็คล้ายๆ กัน
คือทำให้เราเพิ่มปริมาณอาหารในมื้อเข้ามาโดยไม่จำเป็น
6. สิ่งแวดล้อมคือกับดักแห่งการกิน !
เราทานอาหารมากขึ้น 35% โดยไม่รู้ตัว, เมื่อนั่งทานกับใครสักคน
แต่ถ้าทานเป็นกลุ่มใหญ่ 4 คน, เราจะทานเพิ่มไปอีก 75%
และยิ่งไป Party ที่คนมากกว่า 7 คน, ก็จะทานเพิ่มมากขึ้นถึง 96%
หรือสองเท่าของปริมาณปรกติที่เราอิ่ม !
[ยังไม่นับว่าต้องดื่มเหล้า / เบียร์, หรือฝรั่งก็จะชอบดื่ม Wine ไม่ก็ Cidre เพิ่มเข้าไปอีก]
ข้อ 6 นี้ไม่มีวิธีแก้ เพราะจะให้เราแยกตัวออกมาทานข้าวแบบตัดขาดจากโลกก็คงใช่ที่, ตรงนี้ เราต้องหาทางควบคุมพฤติกรรมการกินของตัวเราเองให้ได้ และอย่าดื่มมากไปครับผม ~
ก่อนจบ, Brian Wansink ยังทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า พฤติกรรมการกินของคนปัจจุบันมันเป็นแบบ “Autopilot”, คือบางครั้งเราไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำว่าทำอะไรอยู่ เพราะทุกอย่างมัน “Auto” ไปแล้ว ด้วยกลไกทางจิตวิทยา
แต่เมื่อไรที่เรารับรู้กับดักและค่อยๆ ปรับ
ให้ระบบ “Autopilot” เปลี่ยนแปลงไป
มันก็จะกลายเป็น “Psychology Tricks” ในการลดน้ำหนักง่ายๆ โดยไม่ต้องพยายามเลย
และนี่ก็เป็น 6 Techniques ที่ลงในนิตยสาร Time Magazine เมื่อเช้านี้
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่พยายามลดน้ำหนัก
ฝาก Share ด้วยนะครับ :)