Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 3 ใบ ! > "Click"
--------------------------
เมื่อก่อนผมก็คิดแบบนั้น
ส่วนหนึ่งคงเพราะผมเกิดมา “จน” และก็เชื่อว่าเงินมันแก้ปัญหาชีวิตได้หลายสิ่ง
อย่างน้อยถ้ามีเงินมากพอ, พ่อผมก็คงไม่จากโลกไปตั้งแต่อายุห้าสิบด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตก…
จนกระทั่งเมื่อ Week ก่อน, ครอบครัวผมต้อนรับ “สมาชิกใหม่” เป็น “ลูกคนแรก” ของคุณพี่สาวที่ทั้งคลอดง่ายทั้งสุขภาพแข็งแรงดีและสิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกได้ทันทีในวินาทีนั้นก็คือ “เรามีความสุขมาก” ทั้งที่ผมเป็นคน [โคตร] เกลียดเด็กเข้ากระดูกดำ
และก็เป็นวันที่ผมกลับมาถามตัวเองอีกครั้ง, อย่างช่วยไม่ได้ว่า “นิยามของความสุขคืออะไร ?”
ความสุขของผมก่อนหน้านี้คือการบินไปเรื่อยๆ
ปีหนึ่งๆ ใช้เวลาอยู่ในไทยครึ่งๆ, เคยถึงขั้นที่ตื่นมาแล้ว “งง” ว่าตอนนี้อยู่ไหน / ยังไม่ทันปรับตัวเข้ากับ Time Zone ได้ก็ต้องย้ายประเทศอีกแล้วและเวลาลูกค้าหรือ Agency ที่ไทยโทรมาหามักจะเริ่มบทสนทนาด้วยคำว่า “อยู่ไทยรึเปล่าคะ ?”
[เคยถึงขั้นที่เพื่อนนักบิน TG แซวว่า “กูยังบินบ่อยไม่เท่ามึงเลย”]
บางคนมองว่าชีวิตผม “ประสบความสำเร็จ”, อย่างน้อยก็เมื่อเทียบกับคนวัยสามสิบส่วนใหญ่
โดยเฉพาะสำหรับคนที่ “เรียนไม่จบ” และ “ลาออกจากมหาวิทยาลัยตอนปีสี่“
ผมมีชีวิตที่ดีขึ้นมากจากแต่ก่อน, ตอนนี้มีทั้งบ้านทั้งรถและเงินก็ไม่ใช่ปัญหาอีกแล้ว
[ยกเว้นตอนคุณสรรพากรเรียกไปสอบ…]
พอถึงจุดหนึ่ง : ความสำเร็จอาจไม่เท่ากับความสุขอีกต่อไป
หรืออย่างน้อยก็ไม่ใช่ 100%
ความสำเร็จอาจคิดเป็น 50% ของคำว่าความสุข, ดังนั้น “เงิน” ที่เป็นแค่ 50% [หรือ 30% / 45% / 62%] ของความสำเร็จจึงยิ่งมีค่าแค่ไม่ถึง “หนึ่งในสี่” ของคำว่า “ความสุข” ด้วยซ้ำแต่ปัจจุบันเรากลับใช้ “เงิน” ในการตัดสินทุกอย่าง
ว่าคนๆ หนึ่งจะมีความสุขและความสำเร็จรึไม่
ก็ด้วยความสามารถในการจ่ายออกไปและความสามารถในการหามาได้ซึ่ง “เงิน”
ผมเองก็ไม่ได้โลกสวยมากมาย, ยังเชื่ออยู่ดีว่าเงินคือส่วนหนึ่งของความสุข [อย่างน้อยก็หนึ่งในสี่ดังสมการด้านบน]
และยังยอมรับเหมือนเดิมว่าถ้ามีเงิน, คุณพ่อผมก็คงไม่ตายตั้งแต่อายุห้าสิบ
ผมนึกถึงข่าวบน CNBC อันหนึ่งเมื่อปีก่อน
ว่าด้วย “ต้องมีเงินเท่าไรจึงจะมีความสุข [How much money you need to be happy]” และผลวิจัยก็ยืนยันว่า “Happiness does increase with wealth but the correlation peaks at earning 75000 USD per year”
เป็นเรื่องจริงที่ “ยิ่งมีเงินจะยิ่งมีความสุข”, จนกระทั่งถึงจุดๆ หนึ่ง
นั่นคือ 75000 USD ต่อปี [คิดตามค่าครองชีพ American, อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ]
แม้จะหาได้มากกว่านี้, ความสุขก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอีกแล้ว
ย้อนกลับไป Paragraph แรก, กับคำถามที่ว่า “แล้วนิยามของความสุขคืออะไร ?”
ในฐานะที่บินมามากมาย, ความสุขของผมวันนี้คือการกลับบ้าน / ทักทายทุกคน / แล้วก็ทานข้าวเย็น