Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 4 ใบ ! > "Click"
--------------------------
Blog ต่อเนื่องจากเมื่อวาน, ว่าด้วย “ฟ้องร้อง / ชี้แจงคดีที่ผมถูกกล่าวหาว่าขโมยรูปจาก Pantip“
แต่จะไม่ขอเขียนถึงเรื่องคดีที่กำลังดำเนินอยู่กับสมาชิก Pantip ห้อง MBK ท่านนี้
ที่อยากเล่าก็คือ “สิ่งที่ผมเรียนรู้มาจากการโดนหมิ่นประมาท” และสิ่งที่นักกฏหมาย / ทนายให้คำปรึกษามา
เพราะปัจจุบันไม่ว่าใครก็ใช้ชีวิตและมี Profile อยู่บนโลก Online, ทั้ง Blog / Facebook / Twitter / LinkedIn / Instagram / Line App ไปจนถึง Webboard ไทยใหญ่ๆ อย่าง Pantip ที่เต็มไปด้วย Drama มากมายทุกวี่ทุกวัน
มี 4 ข้อคิดที่ทนายฝากไว้, อยาก Share เป็นภาษาง่ายๆ ให้ได้อ่านกัน
1. คนยุไม่ติดคุกด้วย
กระทู้ของผมก็เป็น Case Study, หลายๆ Comments พยายามโหมให้เรื่องใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการด่า Brand นั้นโน้นนี้ที่เคยเป็น Sponsor ให้ Blog หรือขุดเรื่องเก่าๆ ที่จบไปแล้วด้วยดีขึ้นมาตีให้คลุมเครือซึ่งก็อาจเพื่อประโยชน์บางอย่างของตน
เจ้าของกระทู้ที่กำลังติดลมบนก็อาจจะยิ่ง “คึก” และ “คลั่ง” ไปตามการยุของ Comments
[นักยุบางคนเชี่ยวมาก, มีวิธีการ Comment ที่เฉียดหมิ่นตลอดแต่ปลอดภัยเช่นพาดพิงทิ้งท้ายในแบบประโยคคำถาม]
แต่คนที่จะโดนหนักเมื่อ “คดีพลิก” คือผู้ที่เป็นเจ้าของกระทู้
นักกฏหมายเตือนไว้เลยว่า “อย่าไปเออออตามเพราะคนติดคุกจะมีคนเดียว”
ส่วนพวกที่ Comment ก็แค่แก้ไขข้อความทิ้งและอยู่นิ่งๆ รอเจ้าของกระทู้คนใหม่มาให้หลอกใช้งานคราวต่อไป
2. อย่าดึงบุคคลที่สามเข้ามาเพิ่มคดี
นี่คือคำเตือนต่อจากข้อแรก, เมื่อมี “นักยุ” เข้ามาขุดหาเรื่องเก่าๆ ที่จริงๆ อาจจะ “Clear จบไปแล้ว” ในชั้นกฏหมาย [กรณีแบบนี้มีบ่อยเพราะเรื่องอาจไม่ได้ถูกเขียนจนจบบนกระทู้จึงดูเหมือนว่าสรุปแล้วยังมัวๆ เทาๆ หรือยังติดหน้าแรก Google]
Comments อาจจะยก Brand ใหญ่ๆ หรือยกชื่อใครเพิ่มเข้ามา
[โดยใช้วิธีเอ่ยถึงลอยๆ ในเชิงประโยคคำถาม, ซึ่งจะไม่ผิดในข้อหาหมิ่นประมาทดังข้อ 1 ด้านบน]
แต่ทันทีที่เจ้าของกระทู้ติดกับ, รวมชื่อบุคคลที่สามหรือ Brand ร่วมไปในเนื้อหากระทู้ของตน…
จะเป็นการเพิ่มโจทก์ฟ้องร้องโดยเฉพาะในจังหวะที่ “เงิบ”
เช่นเคย, คนยุมักจะพ้นคดีตลอดและเหลือแค่เจ้าของกระทู้ที่ต้องขึ้นศาลลำพัง
3. ทุกคนบนโลก Online ถูกตามตัวถึงบ้านได้เสมอ
อย่าง Case ของผม, สามารถให้ทนายติดต่อไปยัง Pantip Webmaster เพื่อขอชื่อนามสกุลจริงรวมทั้งบ้านที่อยู่ของผู้ตั้งกระทู้ได้ [เพื่อความง่ายและชัดเจนอาจต้องขอเอกสารแจ้งความจากตำรวจก่อนซึ่งก็ถือว่า “เริ่มจะเป็นเรื่องแล้ว”]
ยิ่งปัจจุบัน, Pantip มีกฏให้สมาชิกรุ่นใหม่ๆ ต้องส่งบัตรประชาชนไปยืนยันตัวด้วย
เมื่อได้ชื่อที่อยู่มา, ทุกอย่างก็จบ
บน Social Network อย่าง Facebook / Twitter / LinkedIn หรือ Instagram ก็เช่นกัน
มันจะมี “ทิ้งรอย” บางอย่าง, ทั้งทางพิกัด GPS / การ Check In / IP Address อยู่ตลอดเวลา
อย่าคิดว่าการปลอมตัวเป็นใครก็ไม่รู้เพื่อใส่ร้ายคนบน Internet จะปลอดภัย
4. แม้ไม่เอ่ยชื่อแต่ก็คือหมิ่นประมาท
นี่คือสิ่งที่หลายคน [รวมทั้งผม] เข้าใจผิดมาตลอดว่า “ถ้าตราบใดที่เราไม่เอ่ยชื่อนามสกุลจริงก็ไม่ผิด !”
แต่ในทางกฏหมายแล้ว, ขอแค่เอ่ยคำที่ทำให้ผู้ฟัง / ผู้อ่านหรือสังคมเข้าใจว่ากำลังหมายถึงใคร
ก็ผิดในข้อหาหมิ่นประมาทแล้ว !
ตรงนี้ก็จริงอยู่ที่อาจต้องให้ศาลหรือผู้เกี่ยวข้องกับกฏหมายตีความโดยละเอียดอีกที
แต่ Case นี้, โชคดีมากที่เจ้าของกระทู้ Pantip ทำสารพัดอย่างตั้งแต่เอ่ยชื่อที่ใช้ประชดถึงผม [เป็นขนม] / ยกเรื่องเก่าๆ ที่ฟ้องชนะไปแล้วและสำคัญที่สุดก็คือผู้ที่หมิ่นผมทำการลง Link ตรงมายัง CookieCoffee พร้อมกับเอ่ยชื่อที่ใช้ประชดนั้นๆ
จึงเป็นการพิสูจน์ชัดเจนว่า “ชื่อขนมคือผมจริงๆ” เรียกว่าครบทุกสิ่งโดยสมบูรณ์จึงไม่ต้องตีความ…
สำหรับเรื่องคดีก็คงต้องฟ้องไปตามขั้นตอนของกฏหมาย, ซึ่งก็จะไม่เอ่ยถึงให้ซ้ำซ้อนกับ Blog ที่แล้วแต่ Case Study & Drama ใน Pantip ครั้งนี้ก็ทำให้ผมได้ความรู้ดีๆ เรื่องการ “หมิ่นประมาท” บนโลก Online มากมายที่ไม่เคยคิดว่า “ฟ้องได้”
จึงคิดว่าน่าจะนำมาเขียนไว้และอยากฝาก Share ให้รู้ทั่วกัน, โดยเฉพาะข้อ 4