Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 4 ใบ ! > "Click"
--------------------------
ต่อจากประวัติ “เบียร์สิงห์เบียร์ไทยถือกำเนิดในเยอรมัน“, ก็ตั้งใจไว้ว่าสักวันจะเขียน Blog เรื่อง “ชนิดของเบียร์”
แต่ก่อนแต่ไร, ขอบเขตประเภทของเบียร์ในความคิดคนไทยก็มีแค่ไม่กี่ Brand
จนช่วง 5 ปีที่ผ่านมา, เริ่มมีการนำเข้าเบียร์ใหม่ๆ มาเจาะ Target ตลาดบน อย่าง Hoegaarden [อ่านว่า “ฮูการ์เทน“, ไม่ใช่ “โฮการ์เดน“] / Erdinger / Paulaner / Guinness ที่สีและรสของเบียร์ต่างจากสิงห์โดยสิ้นเชิง…
เริ่มมีคนคิดว่าเบียร์นำเข้า [Imported Beer] พวกนี้ “เหนือกว่า” เบียร์แบบเดิมๆ ที่คนไทยเราดื่มกันมาเป็นร้อยปี
แต่อย่าลืมว่าที่จริง, เบียร์สิงห์ก็มีต้นกำเนิดจาก Löwenbrau แห่ง Munich เช่นกัน ?
จริงๆ แล้วโลกเราใบนี้มีเบียร์แค่ 2 ประเภทเท่านั้น
คือ “Lager” และ “Ale”
แต่ปัญหาคือ “โลกของเบียร์สำหรับคนไทย” ใน 100 ปีที่ผ่านมาคือ “Lager” ทั้งหมด, เริ่มตั้งแต่ยุคที่เบียร์ No.1 จาก Scandinavia อย่าง Carlsberg เข้ามา หลังจากนั้นก็เป็นเบียร์ที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่นอย่าง Asahi Super Dry
จนถึงยุคทีบริษัทบุญรอดฯ ลงเรือไปศึกษาเรื่องเบียร์ถึง Munich, ต่อด้วยการกำเนิด Leo และเบียร์อีกสารพัด
เผอิญว่าเบียร์ทั้งหมดนี้คือ “Lager”
ซึ่งก็ไม่แปลกเท่าไร, เพราะลักษณะเด่นของเบียร์แบบ Lager คือ ใสและสดชื่นเหมาะกับเมืองร้อนอย่างไทย
[แต่ฝรั่งดืมเบียร์แบบ Lager โดยไม่ใส่น้ำแข็งนะครับ, อันนี้ Thailand Only จริงๆ]
หลังจากที่ “Lager” ทำตลาดในไทยได้พักใหญ่, โดยมี “เบียร์ขวดเขียว” พยายามวาง Position ว่าเป็นเบียร์ตลาดบน [ซึ่งตรงนี้ไม่จริง, เป็นความรู้สึกของคนไทยว่าสีเขียวแพงกว่าเท่านั้น] กับเบียร์ขวดน้ำตาลในตลาด Mass
ก็ถึงยุคของ “Ale”
ซึ่งก็ต้องบอกว่า Ale มาในจังหวะที่ดี…
วาง Position ตัวเองเหนือกว่า “เบียร์ขวดเขียว” ขึ้นไปอีกขั้น, ด้วยการกำหนดราคาแพงกว่าหลายเท่าตัว
จุดเด่นของ Ale ก็ต่างจาก Lager โดยสิ้นเชิง, ค่อนข้างสีเข้มหรือขุ่ม เนื้อแน่น ออกหวานมัน
และ Hoegaarden / Duvel / Guinness / Rogue / Boddingtons / Rochefort ก็จัดอยู่ในตระกูล Ale นี่เอง
เบียร์กลุ่มใหม่ในตลาดบนของไทยจึงให้สัมผัสที่ต่างจากสิงห์ [และ Lager อื่นๆ] ราวฟ้ากับดิน
ส่วนหนึ่งผมว่าด้วยรสที่ต่างมากระหว่าง Lager VS Ale
บวกกับการทำ Marketing ที่ดี, มีการนำแก้วเฉพาะสำหรับเบียร์ Brand นั้นๆ เข้ามาเพิ่ม Value
และชื่อเบียร์ที่ยากก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่ามันแพง
นำโดย Hoegaarden, ซึ่งคนไทยยังอ่านมันว่า “โฮการ์เดน” อยู่เลย…
[เป็น Trick ทางการตลาดเช่นเดียวกับที่ Starbucks ใช้ในการตั้งชื่อ Product ให้ Complicated]
จนสุดท้าย, เบียร์ฝรั่งกลุ่ม Ale จึงมีที่ยืนสบายๆ ในราคาแก้วละ 2 – 3 ร้อยบาท และบางคนก็อยากขยับขึ้นมาดื่มเบียร์กลุ่ม Ale ที่ว่านี้ ก็เลยเริ่มดูถูกเบียร์แบบเก่าว่า “ไม่ใช่เบียร์ที่แท้จริง” ทั้งที่ Lager ถือกำเนิดในเยอรมันตั้งแต่ปี 15xx แล้ว
และที่ Europe, ราคาของเบียร์แบบ Ale & Lager ก็ไม่ได้ต่างกันเลย…
[Blog นี้ต้องบอกก่อนว่าแบ่งตาม Brand & Product ที่คนไทยคุ้น เพราะ Asahi ในไทยมีแค่ “Asahi Super Dry” ซึ่งเป็นประเภท “Lager” แต่ Asahi ที่ญี่ปุ่นจริงๆ ทำเบียร์ทุกชนิดกว่า 20 แบบ รวมทั้ง Ale ด้วย :)]
นี่คือพื้นฐานการแบ่งเบียร์ 2 ชนิดครับ
เหตุผลที่รสของ Lager VS Ale ต่างกันมากก็เพราะวิธีการหมักไปจนถึงส่วนผสม
Lager เป็น “เบียร์ก้นถัง” ที่หมักในอุณหภูมิต่ำ
ตรงข้ามกับ Ale ที่เป็น “เบียร์ปากถัง” ในสภาพอุณหภูมิสูง [ดังนั้นเบียร์แบบ Ale จึงไม่ดื่มแบบแช่เย็น]
แต่ถ้าจะแยกย่อยลงไปอีก, ทั้ง Ale และ Lager ก็ยังแบ่งได้อีก 3 – 4 แบบตามสีสันและรสชาติ
เช่น “Pilsner Urquell” ซึ่งเป็นเบียร์ที่ผมชอบที่สุดในโลกจาก Czech ก็เป็น Lager แบบ Pils
Paulaner Salvator คือ Lager ในกลุ่ม Doppelbock
Hoegaarden ที่เราคนไทยดื่มกันก็เป็น Ale ในแบบ Wheat Bier
Guinness เป็นตระกูล Ale แบบ Stout สีดำเข้ม
Fullers London Pride ก็คือ Ale ระดับ Amber
Leffe ตัวมาตรฐานที่คนไทยดื่มกันจะเป็น ฺAbbey Brown Ale
และตอนนี้ก็เริ่มมีเบียร์ญี่ปุ่นในกลุ่ม Ale เข้ามาด้วย เช่น Hitachino หรือ Craft Beer ต่างๆ
การแยกกลุ่มย่อยของเบียร์นั้น ต้องเป็นคนที่ลิ้นดีจริงๆ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีการผสมข้ามสายพันธุ์มากขึ้น, แน่นอนว่าส่วนตัวผมเองก็แยกออกแค่ระดับ Ale VS Lager หรือชนิดย่อยหลักๆ อย่าง Stout / Wheat Bier หรือ IPA เท่านั้นเหมือนกัน
ทั้ง Lager และ Ale ก็มีประวัติยาวนานมาพอๆ กันที่เยอรมันตั้งแต่ปี 15xx และราคาก็พอๆ กันแต่เป็นเพราะคนไทยเราเองต่างหากที่ไม่คุ้นกับ “Ale”, ยิ่งเมื่อบวกกับ Style การทำตลาดที่จงใจวาง Position เหนือกว่า Lager…
ใครจะชอบเบียร์ชนิดไหนก็ไม่ว่าแต่อย่าต้องถึงขั้น Look Down เบียร์ไทยที่เราดื่มกันมาร้อยปีเลยนะครับ :)
แปลว่า positioning ของ Ale กับ Lager ที่เมืองนอกจริงๆแล้วไม่ต่างกันมากใช่ไหมครับ
เพราะ ดูเหมือนว่า ในไทยจะยกเกรด Ale ขึ้นไปโดยใช้ศัพท์ที่ว่า premium beer ไปแล้วอีกต่างหาก
พวก Zone ฝรั่ง เค้าก็ขาย Lager & Ale ราคาเท่าๆ กันนี่ละคร้าบ :D