Special : "How to สร้างตัวตนออนไลน์ให้ชีวิตและธุรกิจด้วย Social Media !"
BBC UK ทำสารคดีการกำเนิดข้าวกล่อง [Bento / 弁当] ของญี่ปุ่นไว้อย่างน่าสนใจ
เคยสงสัยกันไหมว่าทำไม Bento ที่ขายตามสถานีรถไฟถึงต้องมีหลายๆ ช่อง ไว้ใส่กับเยอะๆ ?
ถ้าลองคิดดีๆ, เราก็น่าจะเดาได้ว่า ข้าวกล่อง [Bento / 弁当] น่าจะเกิดจากการที่คุณแม่อยากจะทำอาหารให้คุณพ่อหรือคุณลูกไปทานข้างนอก หรือไม่ก็เพราะแม่ทัพต้องการแจกเสบียงให้ทหารง่ายๆ เป็นรายตัว
Bento ก็น่าจะเป็นแค่กล่องไม้บ้านๆ หรือห่อข้าวง่ายๆ, เหมือนข้าวเหนียวหมูทอดห่อใบตองของบ้านเราสิ ?
ก่อนจะมาเป็น “Bento” อย่างที่เราเห็นกันในยุค “Japan no Visa“, มันมีพัฒนาการมาจากอาหารของคนจน
ข้าวกล่องยุคแรกสุด, ย้อนไปได้ถึง 1500 ปี
สมัยที่ญี่ปุ่นยังไม่เป็นประเทศเลยด้วยซ้ำ
จากหนึ่งในบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นชื่อ “Nihon Shoki”, มีเรื่องราวของนายพรานที่ห่อข้าวและเนื้อตากแห้งไปทานระหว่างการล่าสัตว์ [ตรงนี้น่าจะเหมือน “ข้าวเหนียวหมูทอดห่อใบตอง” ของไทยเรา]
แต่คำว่า “Bento / 弁当“, ถูกใช้จริงๆ ครั้งแรกก็คือยุคของแม่ทัพโนบุนากะ [Nobunaga]
ความหมายตรงตัวของ Bento ก็คือ “สะดวก”
หน้าตาของ Bento ในยุคนั้นก็แค่ข้าวปั้นใส่กล่องไม้ไผ่เท่านั้นเอง
เรียกว่า “Bento” เกิดขึ้นมาในฐานะอาหารกล่องของทหารชั้นเลว, เป็นเสบียงของคนจน โดยมีกับแค่อย่างเดียว
จนมาถึงยุคเอโดะ [Edo] ที่ละครโนห์ [Noh] และคาบุกิ [Kabuki] ได้รับความนิยมในหมู่คนรวยและชนชั้นกลาง, ทางโรงละครจึงคิดค้นข้าวกล่องแบบใหม่ขึ้นมา สำหรับขายช่วงที่ละครพักครึ่ง
ในชื่อ “Makunouchi Bento [幕の内弁当]“
ซึ่งแน่นอนครับว่าข้าวกล่องของโรงละครย่อมไม่ใช่ “ข้าวเหนียวหมูทอดห่อใบตอง”
แต่เป็นข้าวปั้นอย่างดี พร้อมกับหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ / ปลา / ไข่ รวมทั้ง Sushi ด้วย
จากนั้นเมื่อญี่ปุ่นพัฒนาระบบรถไฟให้วิ่งได้ไกลๆ, ข้าวกล่องก็เกิดขึ้นกระจายไปทั่วประเทศ
เรียกว่า “เอคิเบน [Ekiben / 駅弁当]“, ซึ่งก็ย่อมาจาก “Eki” ที่แปลว่าสถานีรถไฟและ “Bento” นั่นเอง
แต่ละเมืองก็ต้องแข่งขันกัน ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นปรุงใส่มาในข้าวกล่อง กลายเป็นของขึ้นชือของแต่ละพื้นที่
รถไฟความเร็วสูงวิ่งไปถึงไหน, ก็พัดพาเอาความเจริญบวกกับการท่องเที่ยวไปถึงนั่น
ทว่า ทั้งหมดต้องมีการวางแผนอย่างดี
เช่นเดียวกับการที่ Bento พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีประเทศไหนที่ข้าวกล่องหลากหลายเท่าญี่ปุ่น
ตอนนี้เรามีการ์ตูนเกี่ยวกับข้าวกล่องรถไฟ
มีการรวบรวม Bento ทั่วประเทศมาจัดเป็นงาน Event
จากอาหารคนจนที่มีไว้พกไปทานระหว่างล่าสัตว์หรือแจกให้ทหารชั้นเลว, กลายเป็นหนึ่งใน “สินค้าเชิงวัฒนธรรม” ที่ทั้งญี่ปุ่นแข่งขันกันพัฒนา ทั้งในระดับท้องถิ่นและยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลส่วนกลาง
เราคนไทยเองก็คุ้นชินแล้วครับ กับ “ข้าวกล่องรถไฟ” ตามสถานี แต่อาจไม่ค่อยทราบที่มา, ว่ามันสามารถย้อนอดีตกลับไปได้กว่า 1500 ปี และมีการพัฒนาต่อเนื่องมายาวนาน ผ่านการคิดค้นให้สวยงามและหลากหลาย
พลิก “ความง่าย” กลายเป็น “คุณค่า”, อาหารคนจนก็เปลี่ยนเป็น Idea ทางการตลาดได้เช่นกัน :)