Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 4 ใบ ! > "Click"
--------------------------
Happy New Year 2016, ผมยังคงประจำอยู่ที่ลานเบียร์หน้า The Central World !
ถ้าใครแวะไปดื่มเบียร์ที่ลานหน้า Central World แล้วเจอผมก็ทักกันได้, ส่วนใหญ่ผมจะดื่มเบียร์สิงห์ก็หรือไม่ก็ Asahi & Carlsberg [แต่หลังๆ มักจะเลือก Carlsberg เป็น Brand แรกเพราะผมค่อนข้างชอบประเทศฝั่ง Scandinavia :)]
พอพูดถึง “ลานเบียร์“, ก็นึกถึง Blog เก่าตอนผมไป Backpack เยอรมันว่าด้วย
“ประวัติเบียร์ไทยที่ไร้ผู้บันทึก : Löwenbrau สิงห์แห่ง Germany “
จริงๆ แล้วคนไทยก็กินเบียร์มาเกือบร้อยปีแต่รู้รึไม่ว่าเรายังเทและดื่มเบียร์กันผิดวิธีมาโดยตลอด !
1. กินเบียร์ใส่น้ำแข็ง
Ok ครับ, ผมต้องยอมรับก่อนว่า “เมืองไทยเป็นเมืองร้อน”
โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่ได้รับรางวัล “เมืองหลวงที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในโลกติดต่อกัน 3 ปีซ้อน”
แต่เราก็ยังชอบดื่มเบียร์เย็นๆ [รวมทั้งชากาแฟและชาเขียว]
ทางออกของคนไทยก็คือ “ใส่น้ำแข็งลงในเบียร์”, ซึ่งไม่มีชาติไหนทำกันรวมทั้งที่ Germany
เหตุผลง่ายๆ ว่าทำไมการดื่มเบียร์ใส่น้ำแข็งถึงเป็น “การกินที่ผิดวิธี” นั้น, ไม่น่าเข้าใจยาก เพราะว่ารสชาติของเบียร์จะ “จืด” ลง และเบียร์หลายๆ ชนิดไม่ได้ถูกหมักมาเพื่อทานใน “อุณหภูมิต่ำระดับน้ำแข็ง” ด้วยซ้ำ
วิธีหนึ่งที่ผมเห็นเบียร์ Corona ในไทยทำแล้วเข้าท่ามากก็คือ “แช่เบียร์ทั้งขวดในถังน้ำแข็ง” เหมือน Wine
2. แช่แก้วและเบียร์จนเป็นวุ้น !
แม้จะผิดวิถีการกินเบียร์แต่ก็ต้องยอมรับเลยครับว่ามันเป็น “ภูมิปัญญา” ในการต่อสู้กับอากาศร้อนของคนไทย…
และวิธีนี้อย่างน้อยก็ยังดีกว่าการใส่น้ำแข็งก้อนใหญ่ๆ เพราะอย่างน้อยก็ไม่ทำให้เบียร์จืดลง
แต่ความจริงแล้ว, แก้วเบียร์ที่แช่แข็งจะส่งผลให้เบียร์สูญเสียกลิ่นดั้งเดิม / ลดความซ่า [ในกรณีที่เป็นเบียร์แบบ Lager เช่นสิงห์หรือ Carlsberg] และยังทำให้เบียร์เกิดฟองมากโดยไม่จำเป็น
อย่างที่ New York ช่วง Summer จะใช้วิธีหนึ่งน่าสนใจกว่า คือเก็บแก้วเบียร์ในอุณหภูมิห้องธรรมดา…
แต่เวลาริน, จะเอาแก้วล้างน้ำเย็นจัดอีก 1 ที !
เป็น Trick ง่ายๆ ที่เหมาะกับบ้านเราดี หากร้านไหนจะเอา Idea นี้ไปลองทำ
3. ขนาดแก้วและการถือแก้วนานๆ
เพราะว่าไทยเราเป็นเมืองร้อนอีกเช่นเคย
แค่วางแก้วไว้หรือถือนานหน่อย, ก็ทำให้เบียร์เสียอุณหภูมิ [แล้วก็ต้องใส่น้ำแข็งจนได้ !]
เวลาดื่มเบียร์ในไทย, ผมจึงมีไม้ตายคือ “สั่งแก้วเล็ก” ขนาด 250 ml หรือ 330 ml
แทนที่จะสั่งแก้วใหญ่ขนาดครึ่งลิตรหรือมากกว่านั้น
สำหรับร้านเบียร์แพงๆ ในไทย แถวทองหล่อเอกมัยมักจะใช้แก้วเบียร์ใหญ่ที่ขนาด 473 ml [16 oz เท่ากับแก้ว Starbucks Grande], ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่าขนาด 1 Pint [คำนี้อ่านว่า “ไพน์” นะครับ ไม่ใช่ “พินท์” ]
แต่ตอน Backpack ไปเยอรมัน, เบียร์ที่นั่นขายกันในขนาดแก้ว 1 – 2 ลิตรเป็นเรื่องธรรมดามาก…
4. เทเบียร์ให้ดีต้องไม่มีฟอง ?
เป็นความเข้าใจผิดในการดื่มเบียร์ของคนไทยอีกเช่นกัน
แต่ความจริงแล้ว, เบียร์ในกลุ่ม Lager เช่นสิงห์ / Carlsberg และ Asahi [รวมทั้งเบียร์ Imported อย่าง Stella Artois / Weihenstephaner หรือเบียร์โปรดผมที่ชื่อ Pilsner Urquell] ควรจะรินเบียร์แล้วมีฟองด้านบนสูง 1 นิ้ว
ยิ่งถ้าเป็นเบียร์ดำหรือพวก Stout บางตัวอาจจะต้องการฟองสูงกว่านั้น…
อาทิ Guinness ที่ต้องมีฟองด้านบนเหมือนโฟมหรือชั้นของเมฆ, จากการอัด Nitrogen [เบียร์ทั่วไปใช้ CO2]
และที่ผมชอบสุดก็คือ Boddingtons ที่มี Slogan ว่า “The Cream of Manchester” เลยทีเดียว
เวลาดื่มก็ต้องยกแบบอึกใหญ่ๆ, ดื่มตัวเบียร์ผ่านฟองโฟมเข้าไปครับ
5. เบียร์ไม่ใช่ Wine, ไม่ต้องเก็บนาน
ด้วยกระบวนการหมักที่ต่างกัน, ทำให้เบียร์มีแต่เสียกับเสียเมื่อเวลาผ่านไป
และช่วงเวลาที่เบียร์ “สด” นั้นก็แสนสั้น
เพราะเบียร์จะเกิดอาการเหม็นเน่า [Skunked / Skunky] ทันทีที่โดนแสงอาทิตย์หรือ UV, นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมเบียร์ดีๆ จึงต้องถูกบรรจุใน “ขวดสีน้ำตาล” เช่นเดียวกับ “ขวดยา” เพื่อคุมคุณภาพไม่ให้แสงแดดทำปฏิกิริยาเคมีนั่นเอง
[ส่วน “เบียร์ขวดเขียว” เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่กีปี เพราะขวดสีน้ำตาลผลิตไม่ทันในช่วงสงครามโลก]
ดังนั้น เราควรจะซื้อเบียร์ที่เพิ่งผลิตและดืมให้เร็วที่สุด
Credit ความเข้าใจผิดข้อ 5 นี้, จาก ShareBeer.Org ครับ
6. เบียร์ดีคือเบียร์ขวดเขียว ?
ความเข้าใจผิดเรื่อง “เบียร์ขวดเขียวคือเบียร์ที่ดีกว่า” ถูกส่งต่อกันใน Pubs & Bars และกลายเป็นหนึ่งใน “10 ตำนานความเข้าใจผิดแห่งเบียร์” เลยทีเดียว แต่คิดในอีกแง่, มันก็คือหนึ่งใน Case Study ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกของเบียร์เช่นกัน
เจ้าของ Case Study ตัวนี้ก็ไม่ใช่ใคร, Heineken ที่เราคนไทยคุ้นกันดี
ต้นกำเนิดของเบียร์ขวดเขียวจริงๆ คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2, ขวดเบียร์สีน้ำตาล [Amber] มันขาดตลาด…
และก็เพราะต้นทุนเบียร์ขวดเขียวมันต่ำกว่า, บางบริษัทจึงถึงขั้นหันมาใช้ขวดสีเขียวแทน !
ทว่า เบียร์ที่ Germany ส่วนใหญ่ก็ใช้ขวดสีน้ำตาล, กระทั่ง Weihenstephaner ที่ทำเบียร์มา 1 พันปีก็เช่นกัน
Mythbuster ก็เคยพิสูจน์เรื่องนี้ในเชิงวิทยาศาสตร์, ด้วยการใส่ลูกปัดในขวดสีต่างๆ แล้ววางกลางแดดครับ
แถมข้อ 7, การแบ่งชนชั้นด้วยเบียร์…
Week แรกที่กลับจาก New York, ผมไปดื่มแถวทองหล่อและสั่ง “เบียร์สิงห์”
ดูเหมือนคุณพนักงานจะมองผมด้วยสายตาประมาณว่า “มันกินเบียร์ไม่เป็น” และมีเพื่อนร่วมโต๊ะบางคนรู้สึกไม่ดีเท่าไรกับการสั่ง “เบียร์ไทย” มาวางในร้านที่เต็มไปด้วย “เบียร์นำเข้าราคาขวดละ 250 – 500 บาท”
พักหลังๆ ในไทยเรามีการทำตลาดเบียร์นำเข้าใหม่ๆ อย่าง Ales หรือกลุ่มย่อยๆ อย่าง Stout และ IPA
ผสมกับ Technique เชิงการตลาด, ตั้งราคาแพงๆ เพื่อวาง Position ของตัวเองเป็น “เบียร์ตลาดบน”
แต่จริงๆ แล้วเบียร์กลุ่ม “Lager” ก็ถือกำเนิดที่เยอรมัน, มีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่ากัน
มันแปลกดีที่เมืองไทยมีการแบ่งชนชั้นของเบียร์ โดยคนที่ไม่รู้แม้กระทั่งวิธีดื่มที่ถูกต้องด้วยซ้ำไป
จริงๆ มันก็ไม่ผิดอะไรถ้าใครจะดื่มเบียร์ผิดวิธี [ยกเว้นข้อ 6] เพราะว่าเบียร์มีไว้เพื่อความสุขความสบายใจ แต่ผมมองว่า “การดื่มอย่างถูกวิธี” หรือ “การอ่านชื่อเบียร์ถูกต้อง” ก็เป็นการแสดงความเคารพในเจตนารมณ์ของผู้คิดค้นมันขึ้นมา
และถ้าจะมีข้อ 8, การ “เมาแล้วขับ” มันไม่เท่หรอกนะครับ !
555+ผัดไทยใส่ซอสมะเขือเทศ