Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 4 ใบ ! > "Click"
--------------------------
“เห็น Kerry คิวยาวก็คิดว่าเศรษฐกิจดีแต่ที่จริงตรงข้าม !” คือ Blog เก่าของผมเมื่อเดือนก่อนที่มีคน Shared เยอะมาก, คนส่วนหนึ่ง [โดยเฉพาะใครที่ไม่ได้ทำธุรกิจ] มักจะ “งง” ว่าทำไมและวันนี้ก็มีอีก Case หนึ่งจากร้านอาหารเจ้าประจำของผมที่…
“หยุดขายผ่าน Apps, ทั้งบน GrabFood / LineMan / Get และ FoodPanda แล้วครับ”
เพราะยิ่งทำเท่าไรยิ่งเจ๊ง !
เช่นเคย, นี่ไม่ได้จะ Blame ว่าเป็นความผิดของ Grab / Line / Get หรือ FoodPanda
แค่เวลาเห็น Comment สั่งสอนคนทำธุรกิจว่า “ไม่รู้จักปรับตัว” หรือ “ไม่ทำ Online” ตาม Web โลกสวยแล้วมันเศร้าใจ
เช่นเดียวกับที่ “ขายได้เท่าไรจ่ายให้ Kerry & FB หมด”
มนุษย์ลุงมนุษย์ป้าส่วนใหญ่ที่ชอบ Comment สั่งสอนหรือหัวเราะเยาะว่า “ไม่รู้จักปรับตัว” มักไม่ทราบจริงๆ หรอกว่าบริการ Food Delivery เหล่านี้ “หักค่าหัวคิว” จากร้านอาหารมากน้อยแค่ไหน, จากค่าข้าวหนึ่งจานที่อาจจะราคาแค่สี่ห้าสิบบาท
ทางร้านต้องจ่ายค่าหัวคิวเกือบหนึ่งในสามของราคาอาหาร !
[ขึ้นกับการแข่งขันช่วงนั้นและความใหญ่ของแต่ละเจ้าด้วย, ต่างกันไม่เกิน 5% ระหว่าง GrabFood VS FoodPanda]
นี่ยังไม่รวมค่าเช่าที่ / ค่าพนักงาน / ค่าน้ำค่าไฟ / ค่าต้นทุนอาหาร / ค่าความเสี่ยงขายไม่หมด / ค่า etc
ถ้าเดิมทีกำไรต่อจานอยู่ที่ 33%, ก็เท่ากับต้อง “ยกให้ Grab ทั้งหมด”
บางทีผมก็รู้สึก Amazing เหมือนกัน, ที่เดี๋ยวนี้ร้านอาหารตามสั่งเล็กๆ ในไทยต้องคอยส่งค่าหัวคิวให้บริษัทใหญ่ใน Malaysia
เพิ่มความกดดันทั้งในร้านทั้งการส่ง
นี่ก็ไม่ได้จะ Blame ว่าเป็นความผิดของ “พี่วินฯ” แต่ที่พวกเขามักจะต้อง “เร่งทำเวลา” ก็เพราะมันต้องมี “เวลาเดินทาง”, ต่างจากลูกค้าในร้านที่ “ผัดเสร็จก็ทานได้เลย” และหลายๆ ครั้งที่ “ความซวย” ตกแก่ลูกค้าที่นั่งรอเพราะอาหารไม่ได้สักที !
ผมเคยเข้าร้านตามสั่งที่มีแค่สองโต๊ะ, หารู้ไม่ว่ามี “คิวที่มองไม่เห็น” อีก 15 ห่อ…
ร้านที่คุยด้วยวันนี้ก็มีปัญหาแบบเดียวกัน, บางจังหวะมีคน Walkin เยอะ
แต่บางช่วงเวลาก็มีคนสั่งผ่าน App & Online มากกว่า
ถ้าเป็น “ร้านใหญ่” หรือพวก Franchise อาจมีแยกเป็น 2 แผนกรับงานแต่ร้านเล็กๆ ไม่สามารถทำแบบนั้นได้
สุดท้ายก็เสียลูกค้าทั้งสองฝ่าย, นี่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องคิดดีๆ สำหรับใครที่คิดขายอาหารผ่าน App แบบจริงจัง
“หลังๆ แทบไม่มีคนสั่งผ่าน Apps, เพราะเจ้าใหญ่มันอัด Promotion หนักมาก !”
ผมรู้ว่า “จริง” เพราะเมื่อวันก่อนก็เพิ่งสั่ง Yoshinoya หนึ่งแถมหนึ่งไป, ก่อนหน้านั้นก็ Ootoya หนึ่งแถมหนึ่งและ Katsuya หนึ่งแถมหนึ่งอีกเช่นกัน [ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ใน “เครือ Central”] ซึ่งผมก็คิดว่ามันก็ไม่ใช่ความผิดผมอยู่ดี [ที่จะงก !]
เอาเป็นว่าทุกวันนี้เวลาที่ผมเปิด Food Delivery Apps ขึ้นมา, ก็มองหา “ร้านใหญ่” ก่อน
โอกาสที่จะสั่งจากร้านเล็กๆ, มันจะต้องมี “อะไรที่พิเศษ” จริงๆ
เช่นเป็นร้านที่อยู่มานานแถวเยาวราช, มี Menu ที่แปลกประหลาดแบบหาทานไม่ได้แม้แต่ใน New York
หรือไม่ก็ “ยอมตัดราคาแบบโหดเหี้ยมสุดๆ”
ซึ่งถามว่าร้านเล็กๆ สายป่านสั้นๆ จะยอมเจ็บตัวขนาดนั้นได้นานแค่ไหน… ?
ต้นทุนการขาย Online แพงขึ้นมากจริงๆ, ไม่ใช่สิ่งที่สายมโนจะเข้าใจ
ตาม Webboard โลกสวย, ผมยังเห็น Comments ทำนองนี้ทุกวี่วันว่า “ขึ้นไปขาย Online สิฟรีทุกอย่าง” หรือไม่ก็ “ร้านนั้นร้านนี้คิวส่งอาหารยาวเหยียดต้องกำไรดีแน่ๆ” และปิดท้ายด้วยประโยคไม้ตาย “พวกที่เจ๊งเพราะไม่รู้จักปรับตัว !”
คือผมก็ไม่ได้จะ Blame ทั้ง Grab ทั้ง Line [ทั้ง Get ทั้ง FoodPanda]
และไม่ได้จะบอกว่าการจัดส่งอาหารถึงบ้านมันไม่ดี
การที่เรามี “ช่องทาง” การขายเพิ่มมันดีอยู่แล้ว, หากสามารถควบคุมมันได้
ทั้งในเชิงการผลิต [ซึ่งก็คือการผัดข้าวให้ได้จำนวนเยอะๆ] ทั้งในเชิงต้นทุน, ซึ่งหลายคนมองข้ามไป
ลูกค้า SMEs ของผมบางราย, แค่เปิดต้นเดือนมาก็เหมือนจะเป็นหนี้ Zuckerberg กลายๆ
พักหลังๆ ต้องมาคอยจ่ายค่าหัวคิวให้ Grab / Get / Line / Foodpanda อีกและสังเกตอย่างว่าบริการ Food Delivery ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ส่งเงินออกนอกประเทศ, ไม่ว่าจะเป็น Malaysia / Indonesia / S Korea ไปจนถึง Germany
สิ้นเดือนมานั่งทำบัญชี, สรุปว่าเดือนนี้เจ๊งแบบงงๆ !!!
Update : มีผู้อ่านทักมาว่า “แต่ LineMan ไม่หักค่าหัวคิวนะคะ”, ซึ่งอันนี้จริง
[Blog นี้ผมพูดในแง่รวมๆ, ไม่ใช่แค่ Food Delivery แต่หมายถึงพวกบริการ Ride Hailing ด้วย]
ในขณะที่ GrabFood หักราวหนึ่งในสี่ [26%] และ FoodPanda หักแพงสุดที่ 32%
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น, ผมยังคิดเหมือนเดิมคือไม่ได้จะไป Blame ผู้ให้บริการส่งอาหารเพราะเขาก็ทำธุรกิจเหมือนกัน
สำคัญคือเราจะเลือกใช้อย่างไรให้หักลบกลบหนี้แล้วเกิด “กำไร”, ไม่ใช่ทำไปเท่าไรเหมือนส่งเงินให้เขาใช้ฟรีๆ ครับ