Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 4 ใบ ! > "Click"
--------------------------
เป็นข่าวใหญ่ในวงการ Startup และวงการอสังหาฯ แต่ว่าไม่ค่อยดังในเมืองไทย [คงเพราะ WeWork ไม่ได้เข้ามาทำตลาดบ้านเรา], ถึงขั้นที่ Gizmodo พาดหัวว่า “WeWork Delaying Mass Layoffs Because It Can not Afford Severance”
สภาวะการเงินย่ำแย่อย่างหนัก, ขนาดจะปลดคนงานยังไม่มีปัญญาจ่ายค่าชดเชย !!!
จาก STartup ระดับ Unicorn ที่มี Investors ใหญ่ยักษ์อย่าง Softbank & Goldman Sachs ร่วมลงทุน
และจากมูลค่าเมื่อต้นปี 2019 ที่เกือบ 50000 ล้านเหรียญ, ผ่านมาแค่ 6 เดือนกลับตกอยู่ในสภาพร่อแร่รอวันล่มสลาย
Bloomberg วิเคราะห์สาเหตุแห่งการล้มของ WeWork ไว้, มีข้อหนึ่งที่น่าสนใจมากสำหรับ Startup & SMEs ไทย
ขายฝันไปวันๆ แต่อยู่ด้วยตัวเองไม่ได้จริง
เรียกอีกนัยหนึ่งก็คือ “ฟองสบู่”
ตัวเลขการ “ขาดทุน” ของ WeWork เป็นอะไรที่สะดุดตานักลงทุน [น่าแปลกมากตรงที่คือ “ทำไมเพิ่งจะมาสะดุดตา”] เพราะ Wework ขาดทุนกว่า 400 ล้านเหรียญในปี 2016, ก่อนจะเพิ่มเป็น 900 ล้านเหรียญในปี 2017 และปิดปี 2018 ด้วยตัวเลข 1.6 พันล้านเหรียญ !
ก่อนที่ Wework จะยื่น IPO ขอเข้าตลาดหุ้นเมื่อกลางปี 2019, แค่ครึ่งปีก็ขาดทุนไปแล้วอีก 900 ล้าน
อาจเรียกได้ว่า WeWork อยู่ได้ด้วยการ “หมุนเงิน” ของ Investors ยักษ์ใหญ่อย่าง SoftBank Japan มาใช้
แต่ยังไม่มี Model ในการสร้างรายได้ระยะยาวจริงๆ จังๆ, ซึ่งตรงนี้ “ผิดวิสัย” ของ Startup ที่มักจะลงทุนครั้งแรกเยอะหน่อย [เพื่อ Setup ระบบด้าน IT] แต่ค่อยๆ เก็บกำไรคืนมาได้เรื่อยๆ [เพราะอาศัย Technology ซึ่งมีค่าจัดการต่ำกว่าใช้แรงงานคน]
เมื่อปีที่แล้ว, ผมก็มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับ Startups ในไทยหลายเจ้า
บางรายได้รับเงินสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและจากบริษัท IT ใหญ่อย่างพวก AIS
หลายรายไปได้สวย, แต่ก็มีหลายรายเช่นกันที่จบชีวิตสาย Startup ลง
เพราะ Model ธุรกิจ [ที่วางแผนว่าจะ “เปลี่ยนโลก”] มันใช้ไม่ได้จริงในเมืองไทย
พูดง่ายๆ คือคล้ายกับ WeWork, ที่สร้างกำไรระยะยาวไม่ได้แต่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นทุกวัน
เพราะจริงๆ สิ่งที่ WeWork ทำก็ดูไม่ได้ต่างจากบริษัทอสังหาฯ ยุคเก่า
ที่เข้าไป Renovate ตึก / ทำเรื่องเช่าพื้นที่จากเจ้าของตัวจริง / ประกาศให้คนอื่นเข้ามาทำเป็น Office แต่ WeWork อาจมีการสร้าง Image ที่ดีกว่าและเผอิญว่าได้รับการสนับสนุนจาก Investor ระดับ SoftBank จึงยิ่งดึงนักลงทุนเจ้าอื่นเพิ่มได้ง่าย
แต่สุดท้าย, หัวใจของ Startup ยุคใหม่ก็ไม่ต่างจาก SMEs ยุคเก่า
คือ “ต้องสร้างรายได้ได้” เพราะ Investors รายใหญ่ๆ ก็เริ่มระมัดระวังการลงเงินมากขึ้น
นอกจากนี้, WeWork ยังมีอีกหนึ่งปัญหาด้านความไม่โปร่งใส
เมื่อพบว่าผู้บริหารมีการหมุนเงินบริษัทกับเงินส่วนตัวรวมกัน
ล่าสุด, SoftBank ตัดสินใจเพิ่มงบอัดฉีดให้ WeWork คงอยู่ต่อไปได้ [แต่ก็อาจต้องแลกมาด้วยการยอมให้คนของ SoftBank เข้าไปรื้อระบบใหม่] ซึ่งก็ยังไม่รู้เหนือรู้ใต้ว่าสุดท้าย WeWork จะล่มสลายหรือกลายเป็นของคนอื่นไปหรือเปล่าอยู่ดี ?
ทั้งหลายทั้งปวงนี้, ชี้ให้เห็นความจริงของธุรกิจที่ว่า “มันต้องอยู่ได้ด้วยตัวเอง”
ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นเพียง “ฟองสบู่” ที่แม้จะใหญ่แต่ก็เปราะบาง, เพียงแค่แตะก็สลายไปในโลกปัจจุบัน