Special : "How to สร้างตัวตนออนไลน์ให้ชีวิตและธุรกิจด้วย Social Media !"
UOB ก็เป็นอีกหนึ่งธนาคารที่มอบ Credit Card ให้ผมมา, หลังถูก SCB ปฏิเสธไม่ทำบัตรให้ Freelance [ภายในเวลา 42 วินาที] และ “Privimiles” ก็เป็น “บัตรสูงสุดของ UOB” โดยสิ่งเดียวที่พนักงานถามก็เหมือนกับ American Express คือ…
“ไม่ทราบว่ามีเงินลงทุน [AUM] กับ Bank ใดก็ได้เกิน 3 ล้านรึเปล่าคะ ?”
ถ้าตอบว่า “ใช่”, UOB Thailand ก็พร้อมอนุมัติ Privimiles ให้ทันที
[โดยไม่ต้องโดนสอบสวนว่า “เป็นแค่ Freelance แล้วจะมีปัญญาจ่ายเหรอ ?” ด้วย (メ`ロ´)/]
และ UOB Privimiles ก็เป็น Credit Card ที่สะสมไมล์ได้คะแนนสูงสุดในปี 2018, แบบยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ !
UOB Privimiles Visa Signature Credit Card Review
นึกถึง “So Smart” ที่ทาง TMB ส่งมาให้ถือเมื่อเดือนก่อน, ส่วนตัวผมชอบ Design เรียบง่ายแบบ Minimal ของทั้งสองบัตรมากแต่คงเพราะ UOB Privimiles ใช้สีดำทั้งใบก็เลยดูหรูกว่าและระดับของบัตรก็เหนือขึ้นไปอีกขั้นคือ “Visa Signature”
[รับสิทธิกิน Afternoon Tea ฟรีที่ TWG & Harrods ได้ปีละ 2 ครั้ง, เพิ่งไปทานมาด้วยบัตร KBank KingPower]
ด้านขวาบนมีรูปเครื่องบินกับคำว่า “Privimiles”, ชัดเจนว่าบัตรใบนี้เหมาะกับคนที่ “บินบ่อย”
ส่วนด้านซ้ายก็มีชื่อ “UOB”, ที่ย่อมาจาก “United Overseas Bank” ของ Singapore
และก็เพราะมันคือ “Visa”, ข้อดีอย่างหนึ่งก็คือทุกร้านทั่วโลกรับบัตรใบนี้ (#´ー´)旦
[เมื่อเทียบกับสองใบก่อนหน้าที่ JCB & Amex ส่งมา, หาที่ใข้ในไทยได้ยากพอสมควร…]
UOB Privimiles : ทุก 18 บาทได้หนึ่งไมล์โดยไม่มีเงื่อนไข
ดัง Ad โฆษณาหน้า The Emquartier, ดูเหมือนว่า UOB จะลุยตลาดลูกค้าระดับกลางถึงระดับบนแบบเต็มที่ในปีนี้
จุดขายของ UOB Privimiles ก็คือ “ทุก 15 บาทได้หนึ่งคะแนน” และ “ทุก 1.2 คะแนนแลกได้หนึ่งไมล์”
หรือก็คือ “18 บาทได้หนึ่งไมล์”
[ยกตัวอย่างการบินไทย, ใช้ 45000 ไมล์บินไปญี่ปุ่นชั้น Economy ฟรี ψ`ー´)ノ]
นอกจากนี้, UOB Privimiles ก็มีสิทธิพิเศษอีกหลายอย่างเช่นการใช้ Royal Silk Lounge ฟรีปีละสองหน [เมื่อบินกับ TG] / มีเบอร์ Privi CallCentre แยกต่างหากให้ / ประกันการเดินทางท่านละ 20 ล้านบาท [อันนี้ไม่ต้องใช้จะดีกว่า…]
และที่ดีที่สุดของ UOB Privimiles ก็คือ “ถ้าใช้จ่ายเกินสามแสนต่อปี, ฟรีค่าธรรมเนียม !”
UOB Privimiles : แต่จริงๆ คุณสมบัติผู้สมัครบัตรก็ไม่ได้สูงเท่าไร
เท่าที่ถามมาจากพนักงาน, ปี 2018 มีวิธีสมัครบัตร UOB Privimiles ทั้งหมด 4 แบบ
1. พนักงานประจำที่มีฐานเงินเดือน 70000 บาทขึ้นไป, ผ่านแน่นอน
2. Freelance ที่มีเอกสารยื่นภาษีต่อปีไม่ต่ำกว่า 840000 บาท, ก็ผ่านเหมือนกัน ( v ̄▽ ̄)
3. หรือจะใช้ Statement & Bankbook ที่มีเงินฝาก & เงินลงทุนขั้นต่ำ 3 ล้านบาทกับธนาคารใดๆ ก็ได้
4. ส่วนใครที่มีเงินนิ่งๆ อยู่กับทาง UOB เกินล้านนานหกเดือน, ขอเปิดบัตร Privimiles ได้เลย
[แต่ส่วนตัวผมเริ่มอยากจะปิดบัตรหลายๆ ใบแทนเพราะตั้งแต่บ่นเรื่อง “Scb ตัดสายใน 42 วิฯ เมื่อรู้ว่าเป็น Freelance“ ลง Blog ไป, สารพัดธนาคารก็เลยพร้อมใจส่ง Credit Cards มาให้ลองใช้จนตอนนี้ชักจะงงๆ ว่าใบไหนเป็นใบไหนแล้ว]
UOB Privimiles เมื่อใช้งานในชีวิตจริง
1. บัตรสวยมาก, มากถึงมากที่สุด ψ(`∇´)ψ!
2. UOB CallCentre ที่ขึ้นชื่อว่า “เลวร้าย” ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะ Privimiles มีเบอร์แยกต่างหากให้, เท่าที่เคยโทรสองหนก็รับสายไว [ไม่เกิน 2 นาทีได้คุยกับมนุษย์ทั้งสองครั้ง] แต่ถ้าเทียบกับ Amex CallCentre ที่เป็น “The Best” ก็ยังถือว่าแพ้ขาดลอย
3. ทุกที่รับชำระด้วยบัตรใบนี้, ซึ่งก็แน่นอนเพราะมันคือ Visa Signature
4. ไม่มี “ตุกติก” ในการสะสมไมล์, คือ 18 บาทได้หนึ่งไมล์แน่ๆ โดยไม่มีดอกจัน [*] แอบแฝงใดๆ
5. และยังมี Promotion นั่นโน่นนี่เพื่อช่วย “คูณไมล์” ออกมาเป็นระยะๆ
6. แต่ข้อเสียหลักๆ คือคะแนนมีอายุแค่สองปี, เมื่อเทียบกับ Banks อื่นๆ ที่คะแนนไม่มีวันหมดอายุ !
UOB Privimiles ก็เลยเป็นบัตรที่เหมาะกับ [Backpacker ซำเหมา] สุดๆ แม้เทียบไมล์กับ SCB MY Travel แล้วจะเป็นรองนิดหน่อยแต่ SCB My Travel [ที่ 17 บาทหนึ่งไมล์] ไม่สามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี 3210 บาทได้ในทุกกรณี
PS : จริงๆ UOB ยังมีบัตรอีกใบที่สูงกว่าชื่อ “UOB [Visa] Infinite” แต่ต้อง by Invitation Only ครับ