Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 4 ใบ ! > "Click"
--------------------------
Short Note & Review ไว้, เผื่อใครอยากใช้ประกันเดินทางให้คุ้ม [?]
1. ต้องสำรองจ่ายเต็มจำนวนไปก่อน
ซึ่งแน่นอน, หลายๆ บริษัทประกันก็ทำแบบนี้จึงไม่ว่ากันแต่ปัญหาใหญ่ที่ตามมาก็คือ…
2. ที่ญี่ปุ่น, แม้แต่โรงพยาบาลใหญ่ๆ หลายๆ แห่งยังไม่รับ Credit Card !
ดังภาพ, ผมถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลแห่งหนึ่งหลังแบกเป้ตากฝนติดกันสองวันโดยพักผ่อนไม่เพียงพอจนไข้ขึ้นและสิ่งแรกที่พนักงานส่งมาให้ดูก็คือเอกสารที่ระบุชัดเจนว่า “This Hospital Accepts Only by Cash” และ “Credit Card not Accepted“
“Discrimination” คือสิ่งแรกที่ผมรู้สึกทันทีที่เห็นเอกสารระบุวิธีจ่ายเงินแต่พอลอง Googling ดูก็พบว่าคนญี่ปุ่นเองส่วนใหญ่ก็จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลด้วย “เงินสด” เช่นกัน [ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่ารัฐจ่ายแทนให้ 70 – 90% อยู่แล้วด้วย]
แม้แต่โรงพยาบาลใหญ่ๆ หลายๆ แห่งจึงไม่รับ Credit Card
ทั้งที่ค่าหมอค่ายาในญี่ปุ่นเองก็แพงไม่แพ้ USA & Europe
แต่ปัญหาคือจะมีนักท่องเที่ยวสักกี่คนที่แลกเงินสดมาหลายๆ แสนหรือหลายๆ ล้านเยน ?
Case ผมก็เช่นกันและเรื่องเลวร้ายข้อสามก็คือ
3. เอกสารเกือบทั้งหมดเป็นภาษาญี่ปุ่น
[มีแค่ใบแรกที่เน้น “วิธีจ่ายหนี้” นั่นแลฯ ที่เป็นภาษาอังกฤษ…]
ที่เหลือคือ “ภาษาญี่ปุ่น” ล้วนๆ
ตั้งแต่ขั้นตอนการทำบัตรผู้ป่วยครั้งแรกในช่อง First Coming [ชื่อช่องมีภาษาอังกฤษแต่เอกสารประวัติที่กรอกก็ภาษาญี่ปุ่นอยู่ดี] และสิ่งที่รู้สึกได้ในเชิง Discrimination อีกเช่นกันก็คือทางโรงพยาบาลดูจะไม่ Welcome คนต่างชาติเท่าไร…
จะด้วยความกลัวไม่มีเงินจ่าย, หรือความเบื่อหน่ายที่ต้องทำงานลำบากขึ้นแต่ได้เงินเท่าเดิมก็ไม่ทราบ
แต่อาการผมค่อนข้างสาหัสเพราะ “หนาว” ถึงขั้นไม่มีแรงกำมือและฟันกรามล่างชาทั้งปาก
ซึ่งถ้าว่ากันตามตรงก็ประหลาดเพราะผมเคยตากฝนติดกันสองวันจนป่วยระหว่างเดินทางแบบนี้มาแล้วที่ Scotland & Austria แต่พอนอนพักสัก 10 ชั่วโมงก็หายทุกครั้ง, มียกเว้นก็รอบนี้ที่ถึงขั้นต้องส่งตัวเข้าโรงพยาบาลแบบไม่ค่อยจะเต็มใจ
สำหรับประกันเดินทางที่ผมใช้ก็คือ “Cigna” ที่เคยเล่าลง Blog ไปว่ามัน “ฟรี” สำหรับลูกค้า Visa Credit Card นั่นแลฯ
[แต่จังหวะนั้นก็ไม่มีประโยชน์เท่าไรอยู่ดีเพราะเป็นตัวเราที่ต้อง “สำรองจ่าย” เต็มจำนวนไปก่อน]
ตามมาด้วยปัญหาข้อที่ 4 แบบ Japan Only คือ…
4. ไม่มีใบรับรองแพทย์ภาษาอังกฤษให้
ข้อนี้อาจแตกต่างกันไป, ขึ้นกับว่าโรงพยาบาลนั้นๆ เน้นคนต่างชาติมากแค่ไหน
ผมสอบถามกับทาง Cigna ได้ความว่า “ต้องไปจ้างแปลอีกที” และมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายกับเอกสารจำพวกใบสั่งยาที่ใช้ศัพท์เฉพาะทางค่อนข้างมาก, ซึ่งก็แน่นอนว่า “ต้องจ่ายเพิ่มอีก” ทั้งที่เมืองไทยเรายังมีใบรับรองแพทย์ภาษาอังกฤษให้ผู้ป่วยเลย
สุดท้ายก็ได้ยามาหนึ่งชุดใหญ่ๆ
แต่ก็ต้องยอมรับว่าการตรวจรักษาของโรงพยาบาลที่ญี่ปุ่นนี่ดู “ใส่ใจ” มาก
[ลายมือหมอนี่มันเหมือนกันทั้งโลกจริงๆ ]
ทีแรกผมก็แปลกใจเพราะวันนี้จำนวนผู้ป่วยไม่มากแต่กลับต้องรอคิวนาน
จนตัวเองได้ตรวจ, จึงรู้ว่าคุณหมอถามเยอะมากๆ เกี่ยวกับ “อาการป่วย” และ “ประวัติการแพ้ยา” ไปจนถึงรายละเอียดคร่าวๆ ก่อนจะบินมาญี่ปุ่นว่าทำอะไรผิดสำแดงมาบ้างไหมและที่ผมชอบสุดก็คือการอธิบายว่า “เรากำลังป่วยเป็นโรคอะไร”
คือไม่ใช่เดินเข้าห้องตรวจโรคแล้วมองๆ หัวจรดเท้า, จากนั้นก็เขียนใบสั่งยา…
เพราะผู้ป่วยควรจะรู้ว่าตนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่และการคุยกันกับหมอมันก็สร้าง “ความสบายใจ” ได้อย่างมาก
ก็หวังว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์กับใครที่บินบ่อยๆ, โดยเฉพาะคนแบกเป้ [เช่นผม] ที่ปรกติไม่ค่อยจะซื้อประกันเดินทาง
นี่เดี๋ยวกลับไทยไปก็คงต้องรบกับทาง Cigna ต่อ, ไม่รู้จะขอ Claim ค่ารักษาพยาบาลยากแค่ไหนเหมือนกัน
Update : Claim ค่าสินไหมฯ สำเร็จใน 7 วัน !
สรุปว่าส่งเอกสารเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ !
และจริงๆ ก็เป็นความผิดฝั่งผมเองด้วยที่ส่งเรื่อง Claim ช้า
จะเห็นว่ากว่าผมจะส่งเอกสารทั้งหมดไปให้เขาก็ปาเข้าไปวันที่ 12 Jul แล้ว
โดยเอกสารประกอบที่ผมส่งไปก็คือใบรับรองแพทย์ภาษาญี่ปุ่น [ตอนแรกได้ยินว่าต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นแต่คิดๆ แล้วไม่คุ้มจ้างแปลก็เลยลองส่งภาษาญี่ปุ่นเลย] / ใบเสร็จค่าตรวจโรค / ใบสั่งยา / ซองยา / ตั๋วเครื่องบินไปกลับและ Passport
ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ [พอดี], ก็มียอดเงิน “ค่าสินไหมทดแทน” โอนเข้ามาทางบัญชี KBank
สรุปว่าใบรับรองแพทย์ภาษาญี่ปุ่นก็ใช้ได้, ไม่มีขอเอกสารใดๆ เพิ่มและไม่มีการโทรสอบถามด้วย
ย้ำอีกทีว่าผู้ใช้ Visa Credit Card ได้สิทธินี้ทั้งหมดตั้งแต่ Visa Debit / Visa Classic / Visa Gold / Visa Platinum / Visa Signature ไปจนถึง Visa Infinite, ที่ต้องทำก็แค่ “โทรหา CallCentre เพื่อลงทะเบียนก่อนบิน 1 วัน“
เตรียมความพร้อมเผื่ออนาคตอันใกล้, ญี่ปุ่นอาจ “บังคับให้นักท่องเที่ยวทำประกันเดินทางก่อนเข้าประเทศ” ด้วยครับ