Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 4 ใบ ! > "Click"
--------------------------
เวลาที่ผมรู้สึกว่าตัวเองเป็น “คนไทย” มากที่สุดก็คือเวลาที่ต้องจากบ้านเกิดไปไกลแสนไกล
แล้วได้พบใครสักคนพูดถึงประเทศของเรา, ทั้งในทางที่ดีและในทางที่ร้าย
“ญี่ปุ่น” เป็นชาติหนึ่งที่ผมผูกพักมากกว่าชาติไหนๆ, นานๆ ครั้งก็ยังนึกถึงแฟนเก่าชาว Kyoto ที่ได้พบรักกันในเมือง Sendai และปัจจุบันน้องสาวผมก็ยังทำงานอยู่ที่ Tokyo แม้ว่าวันนี้หลายๆ สิ่งอาจกลายเป็นอดีตไปแล้ว…
ผมเดินอยู่ข้างถนนสายเล็กในกรุงเทพฯ, ชุดสีดำใต้สายฝนหลังร่วมลงนามส่งในหลวงสู่สวรรค์เป็นครั้งสุดท้าย
ในเป้หลังมีสิ่งที่เรียกว่าความทรงจำ, ร่วมรำลึกไว้ในการอำลาฯ
เพลงสรรเสริญพระบารมีที่ญี่ปุ่น
จำได้สมัยเด็ก, อย่างน้อยทุกเย็นวันศุกร์หลังเลิกเรียนจะต้องได้ยินเพลงเพลงนี้
แต่น่าแปลกใจ, พอโตขึ้นมากลับได้ยินมันน้อยลงไปทุกทีและทุกที
จนกระทั่งวันหนึ่งที่ผมมีโอกาสได้มาดู “มวยไทยในญี่ปุ่น” กับเพื่อนชาวอังกฤษที่นี่
มันถูกดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อให้มีความเป็นสากลอย่างที่ไม่มีวันได้เห็นในบ้านเรา, มี Fan Club สาวๆ ปีนข้ามเชือกเพื่อมอบดอกไม้บนเวที / มีดนตรีเปิดตัวเหมือนนักมวยปล้ำแต่สิ่งที่ไม่คาดคิดคือมี “บทเพลงหนึ่ง” ซึ่งไม่ได้ฟังมานานแสนนาน
จากเสียงรื่นเริงเปลี่ยนเป็นความเงียบสงัด, สองชาติยืนขึ้นพร้อมกันโดยไม่มีใครต้องบอกใคร
“ข้าวรพุทธเจ้า…”
ความคิดคำนึงของชาวไทยจากแผ่นดินที่แสนไกล
“ไทยรักไทย [タイラックタイ]” เป็นร้านอาหารเล็กๆ ในมุมหนึ่งของเมืองริมทะเลญี่ปุ่นที่ครั้งหนึ่งเคยถูก Tsunami เข้าถล่มหลังแผ่นดินไหวใหญ่, ผมผ่านไปที่ร้านนี้ตอนบ่ายสองโมงกว่าก่อนจะพบว่ามันปิดพักเที่ยง
แต่โชคดีที่ได้เจอกับ “พี่อร”, เจ้าของร้านชาวไทยที่แต่งงานกับชาวญี่ปุ่นและอยู่เมืองนี้มา 7 ปี
ในสภาพหิวโซเพราะไม่ได้ทานอะไรตั้งแต่เช้า, พี่อรตักข้าวพร้อมแกงเขียวหวานชามใหญ่มาให้โดยไม่ยอมคิดเงิน
“เลยเวลาอาหารกลางวันแล้ว, ไม่ขายของ”
น้ำใจในร้านเก่าๆ ที่ตกแต่งอย่างง่ายๆ, มองขึ้นไปมีรูปหนึ่งที่ถูกแขวนไว้อย่างดีในที่ที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
“เป็นรูปที่มีทุกบ้าน…”
ในหลวงในหัวใจต่างชาติ
Mayumi เปิดภาพนี้ให้ผมดูระหว่างนั่งรถไฟไป, มันคือภาพของ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “プミポンアドゥンヤデート国王” พร้อมกับเล่าว่าเพื่อนของเธอก็เคยมาร่วมงานจุดเทียนฉลองวันเกิดของพระองค์ในปี 2013
แม้วันนี้ผมกับ Mayumi อาจไม่ได้อยู่ในสถานะที่เรียกว่า “คนรัก” แล้วก็ตาม
แต่เรื่องราวเก่าๆ ก็ยังคงไม่ลืม
กับอีกครั้งที่เราแวะไปทานอาหารไทยในร้าน “Thailand [タイランド]”, พ่อครัวชาวญี่ปุ่นวิ่งออกมาจากด้านใน
เพื่อชี้ให้ผมดูเสื้อสีขาวที่เขาใส่แถมยังอวดว่าเสื้อตัวนี้หายากมาก !
“ทรงพระเจริญ…”
พระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ในงาน Thai Festival
คงเพราะคนเราไม่อาจรักในสิ่งที่เราไม่รู้จัก, ผมจึงไม่เคยแปลกใจที่เด็กรุ่นใหม่ไม่รักในหลวง
ทุกๆ ปีที่งาน Thai Festival, จะมี Booth หนึ่งเอาพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านมาทำเป็นป้ายง่ายๆ เพื่อให้ชาวญี่ปุ่นได้อ่านกันและบ่อยครั้งที่ผมเองก็ไปหยุดยืนดูเพราะไม่เคยรู้ว่า “ในหลวงของเราเคยทำเรื่องพวกนี้ด้วยหรือ ?”
จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า “ปลานิล” ที่กินกันมานานคือ “ปลาพระราชทาน” จากจักรพรรดิ Akihito [明仁天皇] เมื่อ 50 ปีก่อน
ในสมัยที่คนไทยมีปัญหาสุขภาพอย่างหนักเพราะขาดโปรตีน, พันธุ์ปลาชนิดนี้จึงถูกเลี้ยงไว้ในวังจิตรลดา
อาจเพราะโลกทุกวันนี้มีเรื่องให้สนใจมากเกินไป, ผมเองได้รู้ที่มาของปลานิลช้าไป 89 ปี
ในเมืองที่ห่างออกไป 2680 Miles…