Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 4 ใบ ! > "Click"
--------------------------
เวลาเห็นใครบอกว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก”, ผมมักจะคิดขึ้นมา [ตามประสาคนที่เกิดมายากจนมากๆ] ว่า “การที่ไม่มีกระทั่งข้าวกินและไม่มีบ้านหลังเล็กๆ ไว้หลบลมหลบฝนเป็นของตัวเองคือความสุขตรงไหน ?”
แต่วันเวลาก็ผ่านไป, สามเดือนหกเดือนก็จะมีข่าว “ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก” ออกมาย้ำๆ
โดยไม่มีหลักสถิติวัดอะไรใดๆ, คนจนประเทศนี้ก็ยังถูกเหยียดให้ต่ำกว่าคน
และก็ถูกหลอกซ้ำๆ ว่า “ชาติอื่นเขาอาจพัฒนาด้านวัตถุแต่ไม่มีความสุขทางใจเหมือนเรา”
[คนที่พูดมักไปต่างประเทศบ่อยๆ, ถ้าเมืองนอกมันเลวร้ายขนาดนั้นก็ไม่รู้จะไปทำไมปีละสิบยี่สิบครั้ง]
ความห่างชั้นของคนรวยคนจนวัดกันอย่างไร ?
“In India and Thailand, the top 1 per cent own nearly 60% of the wealth”
ง่ายดายและชัดเจน
ทรัพย์สินทั้งหมดของเมืองไทย 60% อยู่ในมือคนเพียง 1%
เป็นคำอธิบายที่ Clear ที่สุดจาก The Independent UK
ดูเหมือนว่าคนไทยจะมีความสุขใจกับการจ่ายค่าเช่าบ้านเก่าๆ ที่ตนไม่มีวันได้เป็นเจ้าของเพราะไม่มีเงินก้อนมากพอ, ยิ่งปีผ่านไปก็ยิ่งต้องจ่ายแพงขึ้นเรื่อยๆ และอสังหาฯ ใหม่ๆ ใกล้รถไฟฟ้าก็ถูกซื้อโดยคน 1% ที่ว่าเพื่อปั่นราคาด้วยการส่งต่อมือต่อมือ
ก่อนมาญี่ปุ่นรอบนี้, ผมเพิ่งไปเดินดู Condo ติดรถไฟฟ้าเอกมัยและพบว่า “มันขายหมดแล้ว”
ไม่มีบ้านให้คนจน
แต่แทบไม่มีคนอยู่จริง
เพราะว่าคนที่มีกำลังซื้ออสังหาฯ ระดับราคา 5 ล้านบาทขึ้นไป, ล้วนแต่มีบ้านแล้ว
การซื้อ Condo ก็เพื่อลงทุน [ว่ากันตามตรง, ผมคือหนึ่งในนั้น…]
กรุงเทพฯ อาจยังพอมีบ้านหรือห้องแถวราคาไม่แพงแถบรอบนอกแต่ลึกๆ แล้วมันแปลว่า “คนที่ไม่มีปัญหาซื้ออสังหาฯ กลางเมืองจะต้องจ่ายค่าเดินทางแพงขึ้นเรื่อยๆ และเสียเวลาเดินทางเข้ามาทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ [เวลาคือต้นทุนเช่นกัน]”
อีกแค่ 0.4%, คนจนในไทยก็จะ “ไม่ใช่คน” เท่ากับ India
ประเทศที่คนชั้นต่ำถูกห้ามไม่ให้เดินร่วมถนนกับคนรวย