Special : สมัครบัตร Amex วันนี้ฟรีตั๋วชั้นธุรกิจสู่ญี่ปุ่น 4 ใบ ! > "Click"
--------------------------
ไม่ใช่แค่คนไทยที่สั่งเครื่องดื่มใน Starbucks ไม่เป็น…
หากลอง Googling ด้วยคำว่า “How to order + Starbucks“, จะพบผลลัพธ์ทั้งหมด 89.4 ล้านวิธี
แปลว่ามันยากและซับซ้อนจริง แต่ Starbucks ไม่คิดจะแก้ไขให้วิธีการสั่งมันง่ายขึ้นแน่
เพราะมันมีการวิจัยออกมาแล้วว่า ความยากในการสั่งเครื่องดื่มของ Starbucks กลับให้ผลที่ดี, คือลูกค้าจะรู้สึกว่ากาแฟ Brand นี้มีค่าและเป็นสิ่งที่พิเศษเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละคน [นิยามคำเดียวสั้นๆ ก็คือ “Craftsmanship”]
ก่อนอื่นก็ต้องดูรายการอาหารก่อน ที่ > Starbucks Menu 2014 : ราคาชากาแฟ เครื่องดื่มและวิธีสั่ง
มีมุขตลกฝรั่งอันนึงผมชอบมาก ว่าด้วยกาแฟ
Menu ในปี 1970 : Black Coffee with Sugar or Milk
Menu ในปี 2014 : Espresso / Caffe Latte / Cappuccino / Mocha / Misto / Americano / Flat White / Lungo / Long Black / Affogato / Ristretto / Cafe Au Lait / Frappuccino ~
~ French Press / Fresh Brewed / Con Panna / Melange / Viennese Caffe / Cafe Con Leche /
และเวลาเข้า Starbucks ก็ต้อง “Double Tall No Vanilla Syrup Light Whipped Cream Green Tea Cream Frappuccino Blended Beverage”, อันนี้ Menu ของผมเอง :)
โลกเราจะไม่วุ่นวายได้อย่างไร ในเมื่อแค่จะสั่งกาแฟยังลำบากมากมาย, นี่ยังไม่รวมชาและน้ำผลไม้ ~
แต่จริงๆ แล้ว วิธีสั่งเครื่องดื่มใน Starbucks และร้านกาแฟทั่วโลกมันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น
ลอง Click ไปดู Menu ด้านบน แล้วชี้เอาเลยก็ได้ :)
สิ่งที่ Starbucks เพิ่มเข้ามาแล้วสร้างความลำบากเป็นพิเศษก็คือขนาดแก้วมากกว่า
ส่วนประเภทของและความหมายของชื่อกาแฟแต่ละชนิด, ถ้าใครเข้าร้านกาแฟฝรั่งบ่อยๆ ก็จะเริ่มชินและจำได้ อย่าง Espresso นี่ก็คือกาแฟดำเข้มข้นที่สุด ใส่มาในถ้วย Shot ขนาดจิ๋ว เพื่อซดอึกเดียวแล้วไปได้เลย
[Espresso เป็นภาษา Italian, แปลว่า Express ที่หมายถึง “ด่วน” นั่นเอง]
เมื่อเติมน้ำร้อนใส่ Espresso, ก็จะกลายเป็น Americano
แต่ถ้าเราเติมนมแทนน้ำ, ก็เรียกว่า Flat White
แต่ถ้าเป็น Espresso ที่ใส่ทั้งนมและมีฟองนมด้านบนด้วย, ก็จะเรียกว่า Caffe Latte & Cappuccino โดยกาแฟ 2 ชื่อนี้จะต่างกันนิดหน่อยในอัตราส่วนของนม / ฟองและกาแฟ
และ Macchiato ก็คือ Espresso ที่ผสมกับฟองนมครับ
พื้นฐานของกาแฟมีเท่านี้
ผมว่าดูแล้วก็สนุกดี
มันคือการที่เราเล่นกับกาแฟดำ Espresso นั่นเอง
มีคำกล่าวว่า “วัฒนธรรม” ของมนุษย์เราก็เกิดจาก “ความฟุ่มเฟือย”
เมื่อมีอาหารเหลือเฟือ มีเงินเหลือใช้, เราก็มีเวลาไปสร้างความซับซ้อนของกาแฟเพิ่มเติมอีก
Mocha ก็เกิดมาจากตรงนี้, ด้วยการที่เราเอา Chocolate ใส่ลงไปในกาแฟ
ดังนั้น ถ้าเพิ่มฟองนมเข้าไปแบบ Cappuccino, ก็จะเรียก Menu นี้ว่า Mochaccino
ส่วน Con Panna ก็มาจากการเติม Whipped Cream ไว้ด้านบนของ Espresso
แต่ถ้าใครที่ชอบ Culture การดื่มกาแฟฝั่ง Europe ของแท้, โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเยอรมัน / Austria / Italy ซึ่งครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่ถึงขั้นครองโลกละก็ จะต้องเพิ่มชนิดกาแฟเข้าไปอีก
Shakerato คือ Espresso ที่ใส่น้ำแข็ง [บางคนเรียกมันว่า Espresso เย็น :)]
Viennese Coffee ซึ่งเป็นกาแฟโปรดผม ก็จะมีอบเชย [Cinnamon] เพิ่มมาอีกอย่าง
สำหรับพวก Corretto / Lungo / Ristretto อะไรพวกนี้จะไม่ค่อยเจอครับ ถ้าไม่ได้ไปดื่มที่ Europe
ความหลากหลายของกาแฟแต่ละชนิด, ถ้าคิดดีๆ มันก็คือการปรับให้เข้ากับอากาศ / อาหารและสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศนั่นเอง ดังนั้น ใน Zone ฝรั่งจึงมักจะดื่ม “กาแฟร้อน” มากกว่า “กาแฟเย็น”
และกาแฟในเขตหนาวจัดอย่าง Scandinavia จึงเข้มมาก
ขนาดที่ Starbucks เข้าไปทำตลาดใน Norway & Sweden แล้วพับเสื่อกลับ USA แทบไม่ทัน
ส่วนคนไทยเราชอบกาแฟเย็น ใส่น้ำแข็งและนมข้นหวาน
Coffee Master บางคนจึง “เหยียด” ว่ามันเสียรสกาแฟที่แท้จริงไป
แต่ผมไม่คิดแบบนั้นและไม่ดูถูก Menu กาแฟไทย
Singapore มีการดื่มกาแฟผสมชาหรือ Irish Coffee ก็คือกาแฟใส่เหล้า
แล้ววันหนึ่ง, Starbucks ก็ประดิษฐ์คำใหม่เพิ่มขึ้นมา ด้วยการเอาคำว่า “Frappe” ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส หมายถึงการคนกาแฟ ต่อท้ายด้วย “uccino” ที่ให้ความรู้สึกถึงกาแฟแบ Italian
กลายเป็น Frappuccino
แถมยังไปจด Trademark คำนี้เอาไว้, ทำให้ร้านกาแฟอื่นๆ ทั่วโลกไม่มีสิทธิใช้ครับ
จากนั้น Starbucks ก็เอากาแฟแต่ละตัวที่เคยดื่มกันร้อนๆ มาทำให้เย็นแล้วก็ “ปั่น”
รวมทั้งพวกผลไม้ / Chocolate และชา ไปจนกระทั่งชาเขียว
ทั้งหมดนี้ละครับคือ Menu เครื่องดื่มใน Starbucks
วิธีสั่งที่ง่ายที่สุดก็คือเดินเข้าไปชี้เลย ~
แล้วก็เลือกขนาดจากทั้ง 4 Sizes, ตั้งแต่ Short / Tall / Grande และ Venti ซึ่งก็คือ 8 / 12 / 16 และ 20 Oz [Grande 16 Oz เท่ากับ 473 ml หรือก็คือครึ่งลิตรนั่นเอง]
ดื่มกาแฟเสร็จแล้วก็อย่าลืมยกถาดไปเก็บ ถือแก้วไปทิ้งด้วยนะครับ :)
Comments are closed.